กลุ่มที่ 1 ท๊อกซอยด์ (toxoid)
ใช้ป้องกันโรคที่เกิดจากพิษ (toxoid) ของเชื้อแบคทีเรีย ไม่ได้เกิดจากตัวแบคทีเรียโดยตรง ผลิตโดยนำพิษของแบคทีเรียมาทำให้สิ้นพิษ แต่ยังสามารถกระตุ้นให้ร่ายการสร้างภูมิคุ้มกันได้ เช่น วัคซีนคอตีบ วัคซีนบาดทะยัก โดยทั่วไปเมื่อฉีดท๊อกซอยด์จะมีไข้หรือปฏิกิริยาเฉพาะที่เล็กน้อย แต่ถ้าเคยฉีดมาแล้วหลายครั้ง หรือร่างกายมีภูมิคุ้มกันสูงอยู่ก่อนแล้ว อาจเกิดปฎิกิริยามากขึ้นทำให้มีอาการบวม แดง เจ็บบริเวณที่ฉีดและมีไข้ได้
กลุ่มที่ 2 วีคซีนชนิดเชื้อตาย (inactivated หรือ killed vaccine)
2.1 วัคซีนที่ทำจากแบคทีเรียไวรัสทั้งตัวที่ทำให้ตายแล้ว (whole cell vaccine หรือ whole virion vaccine) วัคซีนที่ทำมาจากเชื่อแบคทีเรียมักจะทำให้เกิดปฏิกิริยาบริเวณที่ฉีด ขางครั้งอาจมีใช้ด้วย อาการววัคซีนในกลุ่มนี้ได้แก่ วัคซีนไอกรน วัคซีนอหิวาตกโรค วัคซีนโปลิโอชนิดฉีด วัคซีนพิษสุนัขบ้า วัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอีชนิดน้ำ วัคซีนกลุ่มนี้มักจะต้องเก็บไว้ในตู้เย็น ห้ามเก็บในตู้แข่แข็งเพราะจะทำให้แอนติเจนเสื่อมคุณภาพ
2.2 วัคซีนที่ทำจากบางส่วนของแบคทีเรียหรือไวรัสที่เกี่ยวกับการสร้างภูมิคุ้มกัน (subunit vaccine) วัคซีนในกลุ่มนี้ มักมีปฏิกิริยาหลังฉีดน้อย เช่น วัคซีนตับอักเสบบี วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนฮิบ (Haemophilus influenza type b) วัคซีนไอกรนชนิดไร้เซลล์ (acellular pertussis vaccine) วัคซีนไข้ทัยฟอยด์ชนิดวีไอ (Vi vaccine) วัคซีนนิวโมคอคคัส
กลุ่มที่ 3 วัคซีนชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ (live attenuated vaccine)
ทำจากเชื้อที่ยังมีชีวิตอยู่แต่ทำให้ฤทธิ์อ่อนลงแล้ว เช่น วัคซีนโปลิโอชนิดกิน วัคซีนรวมหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน วัคซีนสูกใส วัคซีนวัณโรค (BCG) วัคซีนไข้ทัยฟอยด์ชนิดกิน วัคซีนในกลุ่มนี้ เมื่อให้เข้าไปในร่ายกายแล้วจะยังไม่มีปฏิกิริยาทันที ตัวอย่าง วัคซีนหัด จะทำให้เกิดอาการไข้ประมาณ วันที่ 5 – วันที่ 12 หลังฉีด วัคซีนในกลุ่มนี้จะต้องเก็บไว้ในอุณหภูมิต่ำตลอดเวลา (cold chain) เพราะถ้าอุณหภูมิสูงขึ้นเชื้อจะตาย การให้วัคซีนจะไม่ได้ผล นอกจากนี้ถ้าร่างกายมีภูมิคุ้มกันเดิมอยู่บ้าง เช้า ได้รับอิมมฺโนโกลบุลิน อาจชัดขวางการออกฤทธิ์ของวัคซีน การให้วัคซีนกลุ่มนี้แก่ผู้ทีทมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือผู้ที่ได้รับยาหรือสารกดภูมิคุ้มกันจะต้องระมัดระวัง เพราะอาจมีอันตรายได้
วิธีการบริหารวัคซีน
1. การกิน (oral route)
ใช้กระตุ้นภูมิคุ้มกันในลำไล้ เช่น วัคซีนโปลิโอ วัคซีนไข้ทัยฟอยด์ชนิดกิน
2. การฉีดเข้าในหนัง (intradermal หรือ intracutaneous route)
โดยฉีดเข้าในหัง ให้เป็นตุ่มนูนขึ้นควรใช้เข็มขนาด 26G ยาว ½ นิ้ว การฉีดวิธีนี้ทำให้แอนติเจนเข้าไปทางระบบน้ำเหลืองได้ดี สามารถกระตุ้นภูมิคุ้นกันชนิดเซลล์เป็นสื่อได้ดี (Cell-mediated immune response) เช่น วัคซีนวัณโรค วัคซีนพิษสุนัขบ้า การฉีดวัคซีนวัณโรคในทารถแรกเกิด ควรฉีดที่ต้นแขนเพื่นให้สามารถตรวจสอบแผลเป็นได้ง่าย ไม่ควรฉีดที่สะโพกเพราะอาจเกิดการติดเชื้อซ้ำเติมได้ง่าย เนื่องจากอยู่ใกล้ผ้าอ้อม ซึ่งอาจเปื้อนอุจจาระ ปัสสาวะได้และตรวจสอบแผลเป็นได้ไม่สะดวกเท่าบริเวณแขน
แทงเข็มให้ปลายเข็มหงายขึ้นเกือบขนานกับผิวหนัง แล้วค่อยๆ ฉีดเข้าในชั้นตื้นสุดของผิวหนัง (จะรู้สึกมีแรงต้นและตุ่มนูนปรากฏขั้นทันที่ มีลักษณะคล้ายเปลือกผิดส้ม)
หากฉีดลึกเกินไป จะไม่เห็นตุ่มนูนเปลือกผิวส้ม ให้ถอนเข็มออกแล้วฉีดเข้าใหม่ขนาด 0.1 มล.ในบริเวณใกล้เคียงกัน
3. การฉีดเข้าใต้หนัง (subcutaneous route)
ควรใช้เข็มขนาด ขนาด 26G ยาว ½ นิ้ว การฉีดให้ตั้งเข็มทำมุม 45 องศากับผิวหนัง มักจะใช้กับวัคซีนที่ไม่ต้องการให้ดูดซึมเร็วเกินไป เพราะอาจเกิดปฏิกิริยารุนแรง เช่น วัคซีนรวมหัด-คางทุม-หัดเยอรมัน วัคซีนไข้ทัยฟอยด์ วัคซีนไข้สมองอักเสบ วัคซีนสุกใส ในเด็กเล็กควรฉีดบริเวณกึ่งกลางต้นขาด้านหน้าค่อนไปทางด้านนอก ส่วนในเด็กโตและผู้ใหญ่ควรฉีดที่ต้นแขน 4. การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (intramuscular route)
เป็นการฉีดลึกลงถึงชั้นกล้ามเนื้อ ควรตั้งเข็มทำมุมฉากกับผิวหนัง ขนาดของเข็มที่ใช้ ชึ้นกับขนาดตัวของเด็ก