a
Biogenetech

Related Posts

    Sorry, no posts matched your criteria.

การใช้ยา sitagliptin ร่วมกับ metformin เปรียบเทียบกับ metformin ร่วมกับ sulfonylurea อะไรดีกว่ากัน

การใช้ยา sitagliptin ร่วมกับ metformin เปรียบเทียบกับ metformin ร่วมกับ sulfonylurea อะไรดีกว่ากัน

หน้าแรก   /   Health Education   /   การใช้ยา sitagliptin ร่วมกับ metformin เปรียบเทียบกับ metformin ร่วมกับ sulfonylurea อะไรดีกว่ากัน
1. ยาในกลุ่ม Sulfonylurea แบ่งออกเป็น 2 generation
First generation (รุ่นที่1) ประกอบด้วย Acetohexamide , Chlorpropamide , Tolazamide และ Tolbutamide
Second generation ( รุ่นที่ 2 ) ประกอบด้วย Glypizide , Glyburide และ Glimepiride
ยาในกลุ่มนี้ใช้รักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 การใช้ยากลุ่มนี้ร่วมกับยารักษาโรคเบาหวานชนิดรับประทานตัวอื่นๆ สามารถใช้ได้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มาเป็นเวลานานและมีภาวะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้น้อยมากเมื่อใช้ยาเดี่ยวในการรักษา อีกทั้งควรระวังในการใช้ยากลุ่มนี้ เพราะมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะ hypoglycemia ซึ่งก็คือ ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงได้
2. ยา Sitagliptin เป็นยากลุ่ม Dipeptidyl Peptidase IV (DPP-4) Inhibitors ใช้รักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 การใช้ยานี้ร่วมกับยา Metformin หรือยากลุ่ม Thiazolidinedione ซึ่งได้แก่ยา pioglitazone สามารถใช้ได้ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้เมื่อใช้ยา Metformin หรือยา
กลุ่ม Thiazolidinedione ในรูปแบบยาเดี่ยวในการรักษา อีกทั้งการใช้ยานี้ในรูปแบบยาเดี่ยวหรือใช้ร่วมกับยา Metformin หรือยากลุ่ม Thiazolidinedione ก็ไม่ได้มีผลทำให้เกิดภาวะ hypoglycemia
3. ยา Metformin เป็นยากลุ่ม Biguanides ใช้รักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 การใช้ยา Metformin สามารถใช้ร่วมกับยารักษาโรคเบาหวานชนิดรับประทานตัวอื่น 1 ตัวหรือมากกว่า 1 ตัวก็ได้ ใช้ได้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มาเป็นเวลานานและมีภาวะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้น้อยมากเมื่อใช้ยาเดี่ยวในการรักษา อีกทั้งการใช้ยา Metformin ในรูปแบบยาเดี่ยว ไม่ได้มีผลทำให้เกิดภาวะ hypoglycemia แต่จะเกิดภาวะ hypoglycemia ได้เมื่อใช้ร่วมกับยากลุ่ม Sulfonylurea และ Thiazolidinedione
การใช้ยา Metformin ร่วมกับ Sulfonylurea ในการรักษาในผู้ใหญ่
ถ้าผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา Metformin ขนาด maximum dose ภายใน 4 สัปดาห์ ควรให้ยา Sulfonylurea ชนิดรับประทานเพิ่มเข้าไปด้วย ในขณะที่เริ่มใช้ยา Metformin ขนาด maximum dose ซึ่งการเกิดปฏิกิริยาระหว่างยาสามารถเกิดได้จากการใช้ยา Metformin ร่วมกับ Glyburide
การใช้ยา Metformin ร่วมกับ Sulfonylurea ในการรักษา เพื่อต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด จะต้องมีการปรับขนาดของยาแต่ละตัว อย่างไรก็ตามต้องพยายามทำให้ได้ minimum effective dose ของยาแต่ละตัว ซึ่งการใช้ยา Metformin ร่วมกับ Sulfonylurea เสี่ยงต่อการเกิดhypoglycemia ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเริ่มรักษาด้วย Sulfonylurea ถ้าผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วย maximum dose ของ Metformin และ ยา Sulfonylurea ชนิดรับประทาน ภายใน 1-3 เดือน ควรพิจารณาการรักษาด้วย insulin พร้อมกับ Metformin หรือ ปราศจาก Metformin [1]
การใช้ยา Metformin ร่วมกับ Sitagliptin ในการรักษาในผู้ใหญ่
การศึกษาของ Charbonnel และคณะ ( 2006 ) ได้ทำการศึกษาแบบ randomized และ
double blind ศึกษาในผู้ป่วยจำนวน 701 คน ซึ่งเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และใช้ยา Metformin
( > 1,500 mg/day ) ในรูปแบบยาเดี่ยวไม่ได้ผล โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่ม 1 ได้รับยา Sitagliptin ขนาด 100 mg/day กลุ่มที่ 2 ได้รับยา Placebo โดยทั้งสองกลุ่มกำลังใช้ยา Metformin อยู่เป็นประจำ ทำการศึกษาเป็นเวลา 24 สัปดาห์
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มที่ได้รับยา Sitagliptin มีระดับค่าเฉลี่ย HbA1c และ Fasting Plasma Glucose ( FPG ) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับ Placebo และกลุ่มที่ได้รับยา Sitagliptin มีเปอร์เซนต์ของการมีค่า HbA1c < 7 % สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับ Placebo โดยมี 47 % และ
18 % ตามลำดับ การให้ Sitagliptin และ Placebo ในผู้ป่วยที่ได้รับยา Metformin อยู่เป็นประจำ พบว่า มีโอกาสเกิด hypoglycemia น้อย และน้ำหนักตัวก็จะลดลง ดังนั้นการเริ่มให้การรักษาด้วย Sitagliptin และ Metformin ร่วมกัน จะทำให้ค่า HbA1c ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ภายใน 24 สัปดาห์ของการศึกษา [3]
การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการใช้ยา
Sitagliptin ร่วมกับ Metformin และ Metformin ร่วมกับ Sulfonylurea
การศึกษาของ Nauck และคณะ ( 2007 ) ได้ทำการศึกษาแบบ randomized ซึ่งมีการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการใช้ยา Sitagliptin และยา Glipizide ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 และมีภาวะที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด (HbA1c ≥6.5 % ,
HbA1c ≤ 10 % ) ในผู้ป่วยที่กำลังใช้ยา Metformin (≥ 1,500 mg/day )อยู่ โดยสุ่มผู้ป่วยมาจำนวน 1,172 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่ม 1 จำนวน 588 คน ได้รับยา Sitagliptin ขนาด 100 mg/day กลุ่มที่ 2 จำนวน 584 คนได้รับยา Glipizide ขนาด 5 mg/day ทำการศึกษาเป็นเวลา 52 สัปดาห์
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มที่ได้รับยา Sitagliptin มีเปอร์เซนต์ของการมีค่า HbA1c < 7 % สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับ Glyburide โดยมี 63 % และ 59 % ตามลำดับ ส่วนค่า Fasting Plasma Glucose ( FPG ) เปลี่ยนแปลงจากค่ามาตรฐานเป็น – 0.56 mmol/l (- 10.0 mg/dl ) และ – 0.42 mmol/l ( -7.5 mg/dl ) ของกลุ่มที่ได้รับยา Sitagliptin และ Glyburide ตามลำดับ สัดส่วนของการเกิดภาวะ hypoglycemia พบในยา Glyburide 32 % สูงกว่ายา Sitagliptin ซึ่งพบ 5 % มีกรณีศึกษาทั้งหมด 657 ครั้ง ที่เกิดภาวะ hypoglycemia ในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยา Glyburide และ มีกรณีศึกษาทั้งหมด 50 ครั้ง ที่เกิดภาวะ hypoglycemia ในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยา Sitagliptin นอกจากนี้ยา Sitagliptin ทำให้น้ำหนักตัวลดลง (เปลี่ยนแปลงจากค่ามาตรฐาน -1.5 kg ) ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับยา Glyburide พบว่าทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ( + 1.1 kg )
จากการศึกษานี้สามารถสรุปได้ว่าการให้ยา Sitagliptin และยา Glyburide ในผู้ป่วยที่กำลังใช้ยา Metformin อยู่ พบว่ามีค่า HbA1c คล้ายกัน ยา Sitagliptin สามารถทนได้ดีในผู้ป่วยและมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ hypoglycemia น้อยกว่ายา Glyburide และยา Sitagliptin ทำให้น้ำหนักลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับยา Glyburide ซึ่งทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น [4]
จากการศึกษาทั้งหมดสามารถสรุปได้ว่า การใช้ยา Sitagliptin ร่วมกับยา Metformin ดีกว่าการใช้ยา Metformin ร่วมกับ Sulfonylurea เพราะว่า การใช้ยา Sitagliptin ร่วมกับยา Metformin มีผลทำให้เกิดภาวะ hypoglycemia น้อยกว่า การใช้ยา Metformin ร่วมกับ Sulfonylurea ซึ่งมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะ hypoglycemia จึงอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
นอกจากนี้ การใช้ยา Sitagliptin ร่วมกับยา Metformin ทำให้ผู้ป่วยมีน้ำหนักลดลง จึงมีผลทำให้เพิ่ม compliance (ความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย ) เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ยา Metformin ร่วมกับ Sulfonylurea ซึ่งทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น


References
1. Reily CH et al. Drud Facts and Comparisons 60th ed. New York: Facts and Comparison, 2006: 374-379, 391-395, 406-407.
2. McEvoy GK. AHFS Drug Information 2008. New York: American Society of Health-System Pharamcist : 3181-3194 , 3231-3261.
3. Matthew P. Gilbert, DO, MPH, Richard E. Pratley, MD, Efficacy and Safety of Incretin-Based Therapies in Patients with Type 2 Diabetes Mellitus.2009 ;122,s11-s24.
4. Nauck MA, Meininger G, Sheng D, Terranella L, Stein PP, Efficacy and safety of the dipeptidyl peptidase-4 inhibitor, sitagliptin, compared with the sulfonylurea, glipizide, in patients with type 2 diabetes inadequately controlled on metformin alone: a randomized, double-blind, non-inferiority trial. 2007 Mar;9(2):194-205.



เอกสารอ้างอิง
ระบุท้ายคำตอบ
เอกสารที่ทำการสืบค้น
: Internet
ระยะเวลาในการสืบค้น : 2ชั่วโมง
Keywords : sitagliptin, sulfonylurea, metformin
ที่มา